วัดมหาธาตุ สักการะเศียรพระพุทธรูปในต้นไม้
วัดมหาธาตุ เก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยา และมีเศียรพระพุทธรูปในต้นไม้ จนเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั่วโลก
ที่กิน ร้านอาหาร
ที่พัก ที่นอน
- ชมโบราณสถานภายในวัดได้แก่ พระวิหาร พระปรางค์ พระอุโบสถ์ วิหารราย เจดีย์แปดเหลี่ยม เป็นต้น
- ศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดี สามารถเช่าวิทยุฟังบรรยายตามจุดภายในวัด
- ชมเศียรพระพุทธรูปปกคลุมด้วยรากของต้นโพธิ์ (Unseen Thailand)
ค่าพิกัดวัดมหาธาตุโดยประมาณ : 14.356942, 100.568634
รถยนต์ :
สามารถเดินทางได้ 3 เส้นทาง :
1. ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ผ่านประตูน้ำพระอินทร์แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 309 เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผ่านวงเวียนเวดีย์วัดสามปลื้ม ข้ามสะพานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชตรงไปตามถนนโรจนะ จนเจอสี่แยกไฟแดงตัดกับถนนชีกุน (ไฟแดงที่สอง) สังเกตขวามือจะเป็นปั๊มน้ำมัน ปตท. เลี้ยวขวาเข้าถนนชีกุนตรงไปไม่ไกล วัดมหาธาตุอยู่ทางซ้ายมือ
2. ทางหลวงหมายเลข 304 (ถนนแจ้งวัฒนะ) หรือทางหลวงหมายเลข 302 (ถนนงามวงศ์วาน) เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 306 (ถนนติวานนท์) แล้วข้ามสะพานนนทบุรีหรือสะพานนวลฉวีไปยังจังหวัดปทุมธานีต่อด้วยเส้นทาง ปทุมธานี-สามโคก-เสนา (ทางหลวงหมายเลข 3111) เลี้ยวแยกขวาที่อำเภอเสนา เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 3263 เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผ่านวงเวียนเวดีย์วัดสามปลื้ม ข้ามสะพานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชตรงไปตามถนนโรจนะ จนเจอสี่แยกไฟแดงตัดกับถนนชีกุน (ไฟแดงที่สอง) สังเกตขวามือจะเป็นปั๊มน้ำมัน ปตท. เลี้ยวขวาเข้าถนนชีกุนตรงไปไม่ไกล วัดมหาธาตุอยู่ทางซ้ายมือ
3. เส้นทางกรุงเทพฯ-นนทบุรี-ปทุมธานีทางหลวงหมายเลข 306 ถึงทางแยกสะพานปทุมธานี เลี้ยวเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 347 แล้วไปแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 3309 ผ่านศูนย์ศิลปาชีพบางไทร อำเภอบางปะอิน เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผ่านวงเวียนเวดีย์วัดสามปลื้ม ข้ามสะพานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชตรงไปตามถนนโรจนะ จนเจอสี่แยกไฟแดงตัดกับถนนชีกุน (ไฟแดงที่สอง) สังเกตขวามือจะเป็นปั๊มน้ำมัน ปตท. เลี้ยวขวาเข้าถนนชีกุนตรงไปไม่ไกล วัดมหาธาตุอยู่ทางซ้ายมือ
รถประจำทาง :
- บริษัท ขนส่ง จำกัด โทรจองตั๋วทุกภาค 02-872-1777 ชำระค่าโดยสารที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส
- ปรับอากาศชั้น 2 (46 ที่นั่ง) ขึ้นรถที่สถานีขนส่งหมอชิต (ใช้เวลาเดินทาง 1 ช.ม. ครึ่ง) : เที่ยวแรก 05.00 น. เที่ยวสุดท้าย 18.00 น. รถออกทุก 30 นาที
รถไฟ :
การเดินทางไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สามารถใช้บริการรถไฟโดยสารที่มีปลายทางสู่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขบวนรถไฟจะผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในเขตอำเภอบางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยา และอำเภอภาชี ทางรถไฟจะแยกไปภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี
คำว่า คามวาสี
คามวาสี (อ่านว่า คา-มะ-วา-สี) แปลว่า ผู้อยู่ในหมู่บ้าน, ผู้ประจำอยู่ในหมู่บ้าน หมายถึงภิกษุที่พำนักอยู่ตามวัดในหมู่บ้านหรือในตัวเมือง มีกิจวัตรประจำเน้นหนักไปในทางคันถธุระ คือศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม มีภารกิจคือการบริหารปกครอง การเผยแผ่ธรรม และการก่อสร้างปฏิสังขรณ์วัดวาอารามเป็นหลัก เรียกกันทั่วไปว่า พระบ้าน พระเมือง ซึ่งเป็นคู่กับคำว่า อรัญวาสี คือ พระป่า
จุดแรก ชมวิหารราย และ เศียรพระพุทธรูปหินทราย
วิหารราย เป็นวิหารขนาดเล็ก ที่มีรากของต้นโพธิ์แผ่รากขึ้นเกาะเต็มผนังคล้ายโบสถ์ วัดบางกุ้ง ภายในร้ากต้นโพธิ์ได้เกิดสิ่งอัศจรรย์มีเศียรพระพุทธรูปปรากฎระหว่างรากไม้ และเป็นที่โด่งดังไปทั่งโลก มีนักท่องเที่ยวจากทั่งทุกมุมโลกเดินทางมาเพื่อชมเศียรพระพุทธรูปล้อมรอบด้วยรากต้นโพธิ์ ณ วัดแห่งนี้ไม่ขาดสายค่ะ
วิหารรายปกคลุมด้วยรากของต้นโพธิ์ โดยมีเศียรพระพุทธรูปปรากฎระหว่างรากต้นโพธิ์
เศียรพระพุทธรูปศิลปะอยุธยา เป็นพระพุทธรูปหินทรายเหลือแต่ส่วนเศียร สำหรับองค์พระหายไป ปกคลุมด้วยรากของต้นโพธิ์เป็นภาพที่โด่งดังไปทั่วโลกถือได้ว่าเป็นภาพ Unseen Thailand เลยค่ะ
จุดต่อไป พระวิหาร
พระวิหาร ตั้งอยู่ส่วนหน้าของวัด โดยอยู่ด้านหน้าพระปรางค์ประธาน ภายในยังคงปรากฏผนังให้เห็น ภายนอกมีกำแพงแก้วตั้งอยู่โดยรอบ
พระพุธรูปหินทราย เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามตามแบบอยุธยา
ระเบียงคด ตั้งอยู่รายรอบพระปรางค์ประธาน โดยประดิษฐานพระพุธรูปหินทรายอยู่โดยรอบระเบียงคด
พระอุโบสถ วัดมหาธาตุ
ตั้งอยู่ด้านหลังปรางค์ประธาน ยังคงปรากฏผนังพระอุโบสถอยู่บางส่วน ภายนอกล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว
พระอุโบสถ วัดมหาธาตุ
วิหารราย เป็นวิหารขนาดเล็ก ผนังไม่มีหน้าต่าง ที่นิยมเรียกว่า มหาอุด
รวมสถานที่ท่องเที่ยวของประเทศไทย
อยุธยา
ที่เที่ยว ท่องเที่ยวที่กิน ร้านอาหาร
ที่พัก ที่นอน
ค้นหาที่เที่ยว
ที่อยู่วัดมหาธาตุ :
ตั้งอยู่ริมบึงพระราม ด้านตะวันออก อยู่ใกล้กับวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาสิ่งน่าสนใจ :
- ชมโบราณสถานภายในวัดได้แก่ พระวิหาร พระปรางค์ พระอุโบสถ์ วิหารราย เจดีย์แปดเหลี่ยม เป็นต้น
- ศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดี สามารถเช่าวิทยุฟังบรรยายตามจุดภายในวัด
- ชมเศียรพระพุทธรูปปกคลุมด้วยรากของต้นโพธิ์ (Unseen Thailand)
แผนที่และการเดินทางไปวัดมหาธาตุ :
ค่าพิกัดวัดมหาธาตุโดยประมาณ : 14.356942, 100.568634
รถยนต์ :
สามารถเดินทางได้ 3 เส้นทาง :
1. ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ผ่านประตูน้ำพระอินทร์แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 309 เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผ่านวงเวียนเวดีย์วัดสามปลื้ม ข้ามสะพานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชตรงไปตามถนนโรจนะ จนเจอสี่แยกไฟแดงตัดกับถนนชีกุน (ไฟแดงที่สอง) สังเกตขวามือจะเป็นปั๊มน้ำมัน ปตท. เลี้ยวขวาเข้าถนนชีกุนตรงไปไม่ไกล วัดมหาธาตุอยู่ทางซ้ายมือ
2. ทางหลวงหมายเลข 304 (ถนนแจ้งวัฒนะ) หรือทางหลวงหมายเลข 302 (ถนนงามวงศ์วาน) เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 306 (ถนนติวานนท์) แล้วข้ามสะพานนนทบุรีหรือสะพานนวลฉวีไปยังจังหวัดปทุมธานีต่อด้วยเส้นทาง ปทุมธานี-สามโคก-เสนา (ทางหลวงหมายเลข 3111) เลี้ยวแยกขวาที่อำเภอเสนา เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 3263 เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผ่านวงเวียนเวดีย์วัดสามปลื้ม ข้ามสะพานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชตรงไปตามถนนโรจนะ จนเจอสี่แยกไฟแดงตัดกับถนนชีกุน (ไฟแดงที่สอง) สังเกตขวามือจะเป็นปั๊มน้ำมัน ปตท. เลี้ยวขวาเข้าถนนชีกุนตรงไปไม่ไกล วัดมหาธาตุอยู่ทางซ้ายมือ
3. เส้นทางกรุงเทพฯ-นนทบุรี-ปทุมธานีทางหลวงหมายเลข 306 ถึงทางแยกสะพานปทุมธานี เลี้ยวเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 347 แล้วไปแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 3309 ผ่านศูนย์ศิลปาชีพบางไทร อำเภอบางปะอิน เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผ่านวงเวียนเวดีย์วัดสามปลื้ม ข้ามสะพานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชตรงไปตามถนนโรจนะ จนเจอสี่แยกไฟแดงตัดกับถนนชีกุน (ไฟแดงที่สอง) สังเกตขวามือจะเป็นปั๊มน้ำมัน ปตท. เลี้ยวขวาเข้าถนนชีกุนตรงไปไม่ไกล วัดมหาธาตุอยู่ทางซ้ายมือ
รถประจำทาง :
- บริษัท ขนส่ง จำกัด โทรจองตั๋วทุกภาค 02-872-1777 ชำระค่าโดยสารที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส
- ปรับอากาศชั้น 2 (46 ที่นั่ง) ขึ้นรถที่สถานีขนส่งหมอชิต (ใช้เวลาเดินทาง 1 ช.ม. ครึ่ง) : เที่ยวแรก 05.00 น. เที่ยวสุดท้าย 18.00 น. รถออกทุก 30 นาที
รถไฟ :
การเดินทางไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สามารถใช้บริการรถไฟโดยสารที่มีปลายทางสู่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขบวนรถไฟจะผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในเขตอำเภอบางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยา และอำเภอภาชี ทางรถไฟจะแยกไปภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี
ข้อมูลท่องเที่ยววัดมหาธาตุ
ประวัติความเป็นมา วัดมหาธาตุ เป็นวัดที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างขึ้นเป็นพระอารามหลวง เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ตามธรรมเนียมของการสร้างวัดมหาธาตุเริ่มขึ้นที่เมืองนครศรีธรรมราชก่อน จึงเป็นต้นแบบให้อาณาจักรอื่นๆต่อมาสร้างเพื่อเป็นพระอารามหลวง เช่น เชียงใหม่ พิษณุโลก นครพนม นครปฐม เพชรบุรี และไชยา เป็นต้น ส่วนวัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดที่เก่าแก่และมีประวัติที่ไม่ค่อยจะชัดเจน บางฉบับบอกว่าสร้าง พ.ศ. ๑๙๑๗ บางฉบับบอกว่าสร้าง พ.ศ. ๑๙๒๗ ถือว่าสร้างราวๆ ช่วง พ.ศ. ๑๙๑๗ - ๑๙๒๗ ค่ะ การก่อสร้างสันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างในสมัยแผ่นดินสมเด็จบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพระงั่ว) แต่อาจจะยังไม่สำเร็จในรัชกาลของพระองค์ จนถึงรัชกาลของสมเด็จพระราเมศวร ทรงเสด็จมาทรงศีล ณ พระราชวังเดิม (วัดพระศรีสรรเพชญ์) เพลา ๑๐ ทุ่ม ทรงทอดพระเนตรไปทางทิศบูรพา เห็นพระบรมสารีริกธาตุเปล่งแสงสว่างลอยขึ้นไปบนท้องฟ้า แล้วก็หายไปในความมืด จึงโปรดให้สร้างพระปรางค์มหาธาตุบริเวณที่ทรงทอดพระเนตร สูง ๓๗ เมตร เป็นศูนย์กลางของเมือง และยังเป็นที่พำนักของ สมเด็จพระสังฆราช ฝ่ายคามวาสีอีกด้วยคำว่า คามวาสี
คามวาสี (อ่านว่า คา-มะ-วา-สี) แปลว่า ผู้อยู่ในหมู่บ้าน, ผู้ประจำอยู่ในหมู่บ้าน หมายถึงภิกษุที่พำนักอยู่ตามวัดในหมู่บ้านหรือในตัวเมือง มีกิจวัตรประจำเน้นหนักไปในทางคันถธุระ คือศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม มีภารกิจคือการบริหารปกครอง การเผยแผ่ธรรม และการก่อสร้างปฏิสังขรณ์วัดวาอารามเป็นหลัก เรียกกันทั่วไปว่า พระบ้าน พระเมือง ซึ่งเป็นคู่กับคำว่า อรัญวาสี คือ พระป่า
จุดแรก ชมวิหารราย และ เศียรพระพุทธรูปหินทราย
วิหารราย เป็นวิหารขนาดเล็ก ที่มีรากของต้นโพธิ์แผ่รากขึ้นเกาะเต็มผนังคล้ายโบสถ์ วัดบางกุ้ง ภายในร้ากต้นโพธิ์ได้เกิดสิ่งอัศจรรย์มีเศียรพระพุทธรูปปรากฎระหว่างรากไม้ และเป็นที่โด่งดังไปทั่งโลก มีนักท่องเที่ยวจากทั่งทุกมุมโลกเดินทางมาเพื่อชมเศียรพระพุทธรูปล้อมรอบด้วยรากต้นโพธิ์ ณ วัดแห่งนี้ไม่ขาดสายค่ะ
วิหารรายปกคลุมด้วยรากของต้นโพธิ์ โดยมีเศียรพระพุทธรูปปรากฎระหว่างรากต้นโพธิ์
เศียรพระพุทธรูปศิลปะอยุธยา เป็นพระพุทธรูปหินทรายเหลือแต่ส่วนเศียร สำหรับองค์พระหายไป ปกคลุมด้วยรากของต้นโพธิ์เป็นภาพที่โด่งดังไปทั่วโลกถือได้ว่าเป็นภาพ Unseen Thailand เลยค่ะ
จุดต่อไป พระวิหาร
พระวิหาร ตั้งอยู่ส่วนหน้าของวัด โดยอยู่ด้านหน้าพระปรางค์ประธาน ภายในยังคงปรากฏผนังให้เห็น ภายนอกมีกำแพงแก้วตั้งอยู่โดยรอบ
พระพุธรูปหินทราย เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามตามแบบอยุธยา
พระวิหารวัดมหาธาตุ แม้ว่ามีอายุมาก แต่ยังคงปรากฎผนังอิฐ และ พระพุทธรูปให้เราเห็นถึงความเจริญทางด้านพุทธศาสนาในสมัยกรุงศรีอยุธยา
พระปรางค์วัดมหาธาตุ
วัดมหาธาตุมีพระปรางค์บริวารรวม ๕ องค์ตรงกลางเป็นพระปรางค์ประธาน มียอดนพศูลสูง ๖ เมตร มีปรางค์ทิศทั้ง ๔ องค์ บันไดถึงซุ้มองค์พระมหาธาตุหลังพนักบันได มีนาคราชตัวโตเท่าลำต้นตาลเลื้อยลงมาแผ่พังพาน ตรงบัลลังก์ทั้ง ๔ มุม มีครุฑ จตุโลกบาล โทวาริก รากษส พิราวะ และยักษ์ ประดิษฐาน ภายนอกล้อมรอบด้วยระเบียงคค
ในสมัยรัชการที่ ๕ พระองค์เสด็จมาประกอบพิธีบวงสรวงรัชมังคลาภิเษกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐ พระปรางค์ยังสมบูรณ์ดีอยู เพิ่งจะพังลงมาในสมัยรัชการที่ ๖
ระเบียงคด ตั้งอยู่รายรอบพระปรางค์ประธาน โดยประดิษฐานพระพุธรูปหินทรายอยู่โดยรอบระเบียงคด
พระอุโบสถ วัดมหาธาตุ
ตั้งอยู่ด้านหลังปรางค์ประธาน ยังคงปรากฏผนังพระอุโบสถอยู่บางส่วน ภายนอกล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว
พระอุโบสถ วัดมหาธาตุ
วิหารราย เป็นวิหารขนาดเล็ก ผนังไม่มีหน้าต่าง ที่นิยมเรียกว่า มหาอุด
วัดมหาธาตุ สักการะเศียรพระพุทธรูปในต้นไม้
Reviewed by ที่เที่ยว
on
13:31:00
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: