วัดธรรมิกราช ชมเจดีย์สิงห์ล้อม
วัดธรรมิกราช เป็นวัดสงฆ์มหานิกายเดิมชื่อวัดมุขราช สร้างในสมัยพระเจ้าสายน้ำผึ้ง จุดเด่นที่รอบฐานพระเจดีย์มีรูปปั้นสิงห์ล้อมจำนวน 52 ตัวที่มีอายุเก่าแก่ก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยา
วัดพนัญเชิง ตั้งอยู่ที่หมู่ 2 ตำบลคลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นพระอารามหลวง
คติความเชื่อ : วัดธรรมิกราช : เมตตามหานิยม บูชาพระรัตนตรัย คุ้มครองรักษาโรคภัยอันตราย
การสักการะ : ดอกไม้ธูปเที่ยนถวายพุทธบูชา และถวายสิ่งของแด่ภิกษุสงฆ์
๑. เศียรพระพุทธรูปหล่อสัมฤทธิ์ศิลปะสมัยอู่ทอง (องค์จำลอง)
๒. วิหารพระพุทธไสยาสน์
๓. พระวิหารทรงธรรม
๔. เจดีย์ประธาน หรือ เจดีย์สิงห์ล้อม (Unseen Thailand)
๕. หลวงพ่อขาวในพระอุโบสถ์
การเดินทางโดยรถยนต์ :
รถยนต์เดินทางได้ 2 เส้นทาง :
1. ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ผ่านประตูน้ำพระอินทร์แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 309 เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผ่านวงเวียนเวดีย์วัดสามปลื้ม ข้ามสะพานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชตรงไปตามถนนโรจนะ จนเจอสี่แยกไฟแดงตัดกับถนนชีกุน (ไฟแดงที่สอง) สังเกตขวามือจะเป็นปั๊มน้ำมัน ปตท. เลี้ยวขวาเข้าถนนชีกุนตรงไปไม่ไกล ผ่านวัดมหาธาตุอยู่ทางซ้ายมือ เจอสี่แยกขับตรงมา เลยวัดราชบูรณะ เจอสี่แยกตัดถนนป่ามะพร้าวให้ตรงมา จะเจอสี่แยก ซ้ายมือเป็นวัดสุวรรณดาวาส ให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนอู่ทองแล้วตรงมาตลอด สังเกตซ้ายมือจะผ่าน วิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา วัดธรรมิกราช จะอยู่ถัดไป
2. ทางหลวงหมายเลข 304 (ถนนแจ้งวัฒนะ) หรือทางหลวงหมายเลข 302 (ถนนงามวงศ์วาน) เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 306 (ถนนติวานนท์) แล้วข้ามสะพานนนทบุรีหรือสะพานนวลฉวีไปยังจังหวัดปทุมธานีต่อด้วยเส้นทาง ปทุมธานี-สามโคก-เสนา (ทางหลวงหมายเลข 3111) เลี้ยวแยกขวาที่อำเภอเสนา เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 3263 เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผ่านวงเวียนเวดีย์วัดสามปลื้ม ข้ามสะพานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชตรงไปตามถนนโรจนะ จนเจอสี่แยกไฟแดงตัดกับถนนชีกุน (ไฟแดงที่สอง) สังเกตขวามือจะเป็นปั๊มน้ำมัน ปตท. เลี้ยวขวาเข้าถนนชีกุนตรงไปไม่ไกล ผ่านวัดมหาธาตุอยู่ทางซ้ายมือ เจอสี่แยกขับตรงมา เลยวัดราชบูรณะ เจอสี่แยกตัดถนนป่ามะพร้าวให้ตรงมา จะเจอสี่แยก ซ้ายมือเป็นวัดสุวรรณดาวาส ให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนอู่ทองแล้วตรงมาตลอด สังเกตซ้ายมือจะผ่าน วิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา วัดธรรมิกราช จะอยู่ถัดไป
รถประจำทาง :
- บริษัท ขนส่ง จำกัด โทรจองตั๋วทุกภาค 02-872-1777 ชำระค่าโดยสารที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส
- ปรับอากาศชั้น 2 (46 ที่นั่ง) ขึ้นรถที่สถานีขนส่งหมอชิต (ใช้เวลาเดินทาง 1 ช.ม. ครึ่ง) : เที่ยวแรก 05.00 น. เที่ยวสุดท้าย 18.00 น. รถออกทุก 30 นาที
รถไฟ :
การเดินทางไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สามารถใช้บริการรถไฟโดยสารที่มีปลายทางสู่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขบวนรถไฟจะผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในเขตอำเภอบางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยา และอำเภอภาชี ทางรถไฟจะแยกไปภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี
เศียรพระพุทธรูปหล่อสัมฤทธิ์ศิลปะสมัยอู่ทอง (องค์จำลอง)
เศียรพระพุทธรูปหล่อสัมฤทธิ์ศิลปะสมัยอู่ทองปัจจุบันกรมศิลปากรนำไปไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ทางวัดจึงสร้างองค์จำลองเพื่อให้เป็นที่สักการะแทนองค์จริง
ADVERTISE
พระพุทธไสยาสน์มีความยาว 12 เมตร หันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ ที่ฝ่าพระบาทปิดทองประดับกระจก
เฉพาะบริเวณบันได จะมีสิงห์คู่หนึ่งหันหน้ามาทางบันได เพื่อมองคนที่เดินขึ้นมายังพระเจดีย์ เป็นอีกจุดที่ดูเหมือนจะเล็กน้อยแต่ช่างปั้นก็ใส่ใจในรายละเอียดมากค่ะ
ลวดลายแผงคอของสิงห์แต่ละตัวจะแตกต่างกันไป ตามจินตนาการของช่างปั้นแต่ละคน
พระวิหารทรงธรรม
พระวิหารทรงธรรม เป็นพระวิหารใหญ่ ขนาดเก้าห้อง ขนาดวิหารนิยมสร้างห้องเป็นจำนวนคี่ โดยหนึ่งห้องมีขนาดเท่ากับระยะห่างช่วงเสาถึงเสา วิหารขนาดเล็กจะมีจำนวนห้องอยู่ 5 ห้อง ขนาดกลางมีจำนวนห้อง 7 ห้อง วิหารขนาดใหญ่มีจำนวนห้อง 9-11 ห้อง
พระวิหารทรงธรรมสร้างขึ้นรัชสมัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เพื่อเป็นสถานที่ฟังธรรมในวันพระ ภายในเคยเป็นที่ประดิษฐานพระธรรมิกราช พระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่ ศิลปะอู่ทอง ที่เหลือเฉพาะพระเศียร วิหารหลวงวัดธรรมิกราชเป็นวิหารใหญ่ที่สุดในสมัยอยุธยา
ผนังบริเวณพระวิหาร เจาะช่องขึ้นเพื่อใช้เป็นช่องแสงและช่องลมระบายอากาศ เป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนกลาง
หลวงพ่อขาวในพระอุโบสถ์
ที่อยู่วัดธรรมิกราช เจดีย์สิงห์ล้อม:
วัดพนัญเชิง ตั้งอยู่ที่หมู่ 2 ตำบลคลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นพระอารามหลวง
คติความเชื่อ : วัดธรรมิกราช : เมตตามหานิยม บูชาพระรัตนตรัย คุ้มครองรักษาโรคภัยอันตราย
การสักการะ : ดอกไม้ธูปเที่ยนถวายพุทธบูชา และถวายสิ่งของแด่ภิกษุสงฆ์
สิ่งน่าสนใจ :
๑. เศียรพระพุทธรูปหล่อสัมฤทธิ์ศิลปะสมัยอู่ทอง (องค์จำลอง)
๒. วิหารพระพุทธไสยาสน์
๓. พระวิหารทรงธรรม
๔. เจดีย์ประธาน หรือ เจดีย์สิงห์ล้อม (Unseen Thailand)
๕. หลวงพ่อขาวในพระอุโบสถ์
แผนที่และการเดินทางไปวัดธรรมิกราช เจดีย์สิงห์ล้อม:
ค่าพิกัดวัดธรรมิกราชโดยประมาณ : 14.357812, 100.568690การเดินทางโดยรถยนต์ :
รถยนต์เดินทางได้ 2 เส้นทาง :
1. ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ผ่านประตูน้ำพระอินทร์แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 309 เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผ่านวงเวียนเวดีย์วัดสามปลื้ม ข้ามสะพานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชตรงไปตามถนนโรจนะ จนเจอสี่แยกไฟแดงตัดกับถนนชีกุน (ไฟแดงที่สอง) สังเกตขวามือจะเป็นปั๊มน้ำมัน ปตท. เลี้ยวขวาเข้าถนนชีกุนตรงไปไม่ไกล ผ่านวัดมหาธาตุอยู่ทางซ้ายมือ เจอสี่แยกขับตรงมา เลยวัดราชบูรณะ เจอสี่แยกตัดถนนป่ามะพร้าวให้ตรงมา จะเจอสี่แยก ซ้ายมือเป็นวัดสุวรรณดาวาส ให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนอู่ทองแล้วตรงมาตลอด สังเกตซ้ายมือจะผ่าน วิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา วัดธรรมิกราช จะอยู่ถัดไป
2. ทางหลวงหมายเลข 304 (ถนนแจ้งวัฒนะ) หรือทางหลวงหมายเลข 302 (ถนนงามวงศ์วาน) เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 306 (ถนนติวานนท์) แล้วข้ามสะพานนนทบุรีหรือสะพานนวลฉวีไปยังจังหวัดปทุมธานีต่อด้วยเส้นทาง ปทุมธานี-สามโคก-เสนา (ทางหลวงหมายเลข 3111) เลี้ยวแยกขวาที่อำเภอเสนา เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 3263 เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผ่านวงเวียนเวดีย์วัดสามปลื้ม ข้ามสะพานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชตรงไปตามถนนโรจนะ จนเจอสี่แยกไฟแดงตัดกับถนนชีกุน (ไฟแดงที่สอง) สังเกตขวามือจะเป็นปั๊มน้ำมัน ปตท. เลี้ยวขวาเข้าถนนชีกุนตรงไปไม่ไกล ผ่านวัดมหาธาตุอยู่ทางซ้ายมือ เจอสี่แยกขับตรงมา เลยวัดราชบูรณะ เจอสี่แยกตัดถนนป่ามะพร้าวให้ตรงมา จะเจอสี่แยก ซ้ายมือเป็นวัดสุวรรณดาวาส ให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนอู่ทองแล้วตรงมาตลอด สังเกตซ้ายมือจะผ่าน วิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา วัดธรรมิกราช จะอยู่ถัดไป
รถประจำทาง :
- บริษัท ขนส่ง จำกัด โทรจองตั๋วทุกภาค 02-872-1777 ชำระค่าโดยสารที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส
- ปรับอากาศชั้น 2 (46 ที่นั่ง) ขึ้นรถที่สถานีขนส่งหมอชิต (ใช้เวลาเดินทาง 1 ช.ม. ครึ่ง) : เที่ยวแรก 05.00 น. เที่ยวสุดท้าย 18.00 น. รถออกทุก 30 นาที
รถไฟ :
การเดินทางไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สามารถใช้บริการรถไฟโดยสารที่มีปลายทางสู่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขบวนรถไฟจะผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในเขตอำเภอบางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยา และอำเภอภาชี ทางรถไฟจะแยกไปภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี
ข้อมูลท่องเที่ยววัดธรรมิกราช เจดีย์สิงห์ล้อม
วัดธรรมิกราช สร้างในสมัยพระเจ้าสายน้ำผึ้ง โดยพระราชโอรสพระเจ้าธรรมิกราชโปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นที่บริเวณเมืองเก่าชื่อเมืองสังขบุรี ก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยา พระมหากษัตริย์องค์ต่อมาได้ทรงบูรณะมาโดยตลอด ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงธรรม (พ.ศ. ๒๑๕๓) ทรงบูรณะวัดและสร้างวิหารหลวงเพื่อฟังธรรมในวันธรรมสวนะ และที่วิหารหลวงแห่งนี้เคยเป็นที่ประดิษฐานของเศียรพระพุทธรูปหล่อสัมฤทธิ์ศิลปะสมัยอู่ทองปัจจุบันกรมศิลปากรนำไปไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยาเศียรพระพุทธรูปหล่อสัมฤทธิ์ศิลปะสมัยอู่ทอง (องค์จำลอง)
เศียรพระพุทธรูปหล่อสัมฤทธิ์ศิลปะสมัยอู่ทองปัจจุบันกรมศิลปากรนำไปไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ทางวัดจึงสร้างองค์จำลองเพื่อให้เป็นที่สักการะแทนองค์จริง
เศียรพระพุทธรูปหล่อสัมฤทธิ์ ขนาดกว้าง 1.40 เมตร สูง 1.80 เมตร เดิมเป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติ ก่อนจะเสียกรุงได้นำองค์พระไปหล่อเป็นอาวุธ และปืนใหญ่จนเหลือแต่พระเศียร
วิหารพระพุทธไสยาสน์
วิหารพระพุทธไสยาสน์นั้น พระราชมเหสีของพระองค์ทรงสร้างพระวิหารถวายตามคำอธิษฐานที่ขอให้พระราชธิดาทรงหายประชวร ไว้ทางหน้าประตูด้านทิศเหนือของพระเจดีย์สิงห์ล้อม วิหารกว้าง 11 เมตร ยาว 20 เมตร ภายในวิหารมีพระพระพุทธไสยาสน์ ศิลปะสมัยอยุธยา
ADVERTISE
เจดีย์สิงห์ล้อม
พระเจดีย์สิงล้อมอยู่หน้าวิหารทรงธรรม เป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม ตั้งอยู่บนฐานทักษิณสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 23 เมตร มีบันไดทั้งสี่ทิศ เชิงบันไดปั้นเป็นรูปพญานาค 7 เศียรแผ่พังพาน รอบฐานเจดีย์ประดับด้วยสิงห์ปูนปั้น 52 ตัว
รูปสิงห์ปูนปั้นบางตัวยังคงสภาพสมบูรณ์
พระวิหารทรงธรรม
พระวิหารทรงธรรม เป็นพระวิหารใหญ่ ขนาดเก้าห้อง ขนาดวิหารนิยมสร้างห้องเป็นจำนวนคี่ โดยหนึ่งห้องมีขนาดเท่ากับระยะห่างช่วงเสาถึงเสา วิหารขนาดเล็กจะมีจำนวนห้องอยู่ 5 ห้อง ขนาดกลางมีจำนวนห้อง 7 ห้อง วิหารขนาดใหญ่มีจำนวนห้อง 9-11 ห้อง
พระวิหารทรงธรรมสร้างขึ้นรัชสมัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เพื่อเป็นสถานที่ฟังธรรมในวันพระ ภายในเคยเป็นที่ประดิษฐานพระธรรมิกราช พระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่ ศิลปะอู่ทอง ที่เหลือเฉพาะพระเศียร วิหารหลวงวัดธรรมิกราชเป็นวิหารใหญ่ที่สุดในสมัยอยุธยา
หลวงพ่อขาวในพระอุโบสถ์
วัดธรรมิกราช ชมเจดีย์สิงห์ล้อม
Reviewed by ที่เที่ยว
on
14:31:00
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: