พิพิธภัณฑ์โฮงหลวงแสงแก้ว
เที่ยวชมพิพิธภัณฑ์โฮงหลวงแสงแก้วที่จัดแสดงวัตถุทางศาสนาและวัฒนธรรมล้านนาที่หาดูได้ยาก เช่น "พญาลวง" มีลักษณะคล้ายมังกร และ พญานาครวมกัน นอกจากนี้ยังมีลักษณะของสัตว์ชนิดอื่นรวมอยู่ด้วย เช่น มีขาเหมือนม้า มีหางเหมือนปลา มีจมูกเหมือนช้าง เชื่อกันว่าคำว่า “ลวง” เป็นชื่อที่เพี้ยนมาจากคำว่า “เล้ง” ที่แปลว่า มังกร
รวมสถานที่ท่องเที่ยวของประเทศไทย
ที่เทียวจังหวัดเชียงราย
ค้นหาที่เที่ยว
พิพิธภัณฑ์โฮงหลวง
-
ชมวัตถุสำคัญทางศาสนาและวัฒนธรรมล้านนาที่หาดูได้ยาก
📌 ที่อยู่พิพิธภัณฑ์โฮงหลวง
ถนนไตรรัตน์ ใกล้กับศาลากลางจังหวัด ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย🏩 จองที่พักจังหวัดเชียงราย
💗 สิ่งน่าสนใจ
- ไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัดพระแก้ว เชียงราย
- ชมพิพิธภัณฑ์โฮงหลวงแสงแก้ว
- นมัสการพระแก้วมรกตองค์จำลอง
🚗 การเดินทางไปวัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย
ค่าพิกัดวัดพระแก้ว เชียงราย : GPS 19.911850, 99.828165 ใช้ Googel Map นำทางไปพิพิธภัณฑ์โฮงหลวง และ วัดพระแก้ว เชียงราย
การเดินทางโดยรถยนต์
จากทางหลวงหมายเลข 1 เลี้ยวเข้าถนนอุตรกิจวิ่งตรงมาจนถึงวัดมุงเมืองให้เลี้ยวขวาเข้าถนนไตรรัตน์ ตรงไปอีกประมาณ 250 เมตร จะถึงวัดพระแก้วเชียงราย อยู่ซ้ายมือ ซึ่งพิพิธภัณฑ์โฮงหลวง อยู่ภายในวัด🚩 แผนที่พิพิธภัณฑ์โฮงหลวง
พิพิธภัณฑ์โฮงหลวง
-
ชมวัตถุสำคัญทางศาสนาและวัฒนธรรมล้านนาที่หาดูได้ยาก
พิพิธภัณฑ์โฮงหลวงแสงแก้ว มีลักษณะทรงล้านนาประยุกต์ 2 ชั้น ผสมผสานศิลปะระหว่างอยุธยาและศิลปะล้านนา ออกแบบโดยสล่าชาวเชียงราย โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก และตกแต่งด้วยไม้อัดสักทั้งภายนอกและภายใน โดยมี คุณยายอมรา มุนิกานนท์ เป็นผู้อุปถัมภ์การก่อสร้างและมอบถวายให้กับวัดพระแก้ว สร้างแล้วเสร็จภายในปี 2544
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
การจัดแสดงชั้น 1 ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูป เช่น “พระพุทธศรีเชียงราย” ประดิษฐานเป็นพระประธานทางขวาของห้องโถงชั้นนี้ ออกแบบโดย อาจารย์เสนอ นิลเดช ศิลปินแห่งชาติ พระพุทธศรีเชียงรายเป็นพระพุทธรูปโลหะหล่อปิดทอง รูปแบบเชียงสานสิงห์หนึ่ง ปางมารวิชัย ส่วนพระพุทธรูปรอบองค์ที่ประดิษฐาน คือ “พระธาตุของพระอรหันตสาวก” เป็นของที่วัดสะสมไว้และมีผู้นำมาถวายสมทบ จัดแสดงพร้อมกับปราสาท 9 ยอด ศิลปะเชียงตุง ทำด้วยโครงไม้บุด้วยแผ่นเงินทั้งองค์ และมีตุงที่น่าสนใจให้ศึกษา เช่น ตุงกระดาษ ตุงฉลุ ตุงเงินตุงทอง ศิลปะไทลื้อ ที่ผู้สุงอายุชาวเชียงคำฉลุถวาย นอกจากนี้ ชั้นนี้ได้จัดแสดงของใช้ในชีวิตประจำวันของชาวล้านนาด้วย เช่น เครื่องเงิน เครื่องเขิน เป็นต้น
การจัดแสดงชั้นที่ 2 วัตถุแสดงที่น่าสนใจ คือ “พระเจ้าทันใจ” มีความเชื่อกันว่า เมื่ออธิษฐานสิ่งใดก็จะได้ดังใจหวัง เป็นพระพุทธรูปโบราณที่อยู่คู่กับวัดพระแก้ว ประดิษฐานเป็นพระประธานของชั้นที่ 2 นี้ พระเจ้าทันใจเป็นพระพุทธรูปสำริดปิดทอง สมัยเชียงแสนตอนปลาย ปางมารวิชัย ชั้นนี้ยังจัดแสดงวัตถุทางศาสนาอีกมากมาย เช่น พระพุทธรูปโบราณศิลปะล้านนา เชียงรุ้ง พม่า บางชิ้นแกะจากหินอ่อน บางองค์เป็นของสะสมของคุณลาวัลย์ ใบหยก แล้วนำมาถวายให้แก่วัด และยังมีชุดเครื่องแบบเจ้านายฝ่ายเหนือสมัยรัชกาลที่ 5 วัตถุโบราณของเจ้านายชั้นสูง ที่เป็นของตกทอดมาถึงทายาทในปัจจุบัน ซึ่งนำมาให้แก่ทางวัดอีกเช่นเดียวกัน
พระพุทธศรีเชียงราย พระพุทธรูปปางมารวิชัยวัสดุโลหะปิดทองศิลปะเลียนแบบเชียงแสนออกแบบโดย อาจารย์ เสนอ นิลเดช สร้างไว้เป็นพระประธานโฮงหลวงแสงแก้ว เมื่อ พ.ศ. 2544
สัตตภัณฑ์
สัตตภัณฑ์ มีแท่นสำหรับปักเทียน 7 ที่และมีระดับสูงลดหลั่นกัน สัตตภัณฑ์ในแต่ละวัดมักได้รับการตกแต่งอย่างสุดฝีมือจากช่างเอกของชุมชนนั้นในยุคๆ นั้น เพราะสัตตภัณฑ์ทำหน้าที่สำคัญหน้าพระประธาน สัตตภัณฑ์จึงเป็นเครื่องสักการะที่สำคัญในการน้อมบูชา เป็นหน้าตาของวัดและพุทธศาสนิกชนที่เป็นศรัทธาของวัดนั้น
สัตตภัณฑ์ มีความงดงามมากครับ
พญาลวง
"พญาลวง" มีลักษณะคล้ายมังกร และ พญานาครวมกัน นอกจากนี้ยังมีลักษณะของสัตว์ชนิดอื่นรวมอยู่ด้วย เช่น มีขาเหมือนม้า มีหางเหมือนปลา มีจมูกเหมือนช้าง เชื่อกันว่าคำว่า “ลวง” เป็นชื่อที่เพี้ยนมาจากคำว่า “เล้ง” ที่แปลว่า มังกร
วิวจากชั้นที่ 2 มองลงมาด้านล่าง
พระเจ้าทันใจ
พระเจ้าทันใจ พระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะเชียงแสนวัสดุโลหะสำริด เป็นความเชื่อว่าถ้าได้อธิษฐานสิ่งใดจากพระพุทธรูปองค์นี้จะได้รับผลรวดเร็วทันใจ
พระบัวเข็ม
พระบัวเข็ม เป็นปางหนึ่งของพระอุปคุตซึ่งเข้านิโรธสมาบัติที่สะดือทะเล ที่ฐานจะมีรูปหอย ปู ปลา บนเศียรมีใบบัวคลุม มีตุ่มนูนเล็กๆ 9 จุด คือที่บนหน้าผาก 1 จุด ที่เข่า 2 จุด หัวไหล่ 2 จุด สะโพก 2 จุด และที่ศอกหรือข้อมือ 2 จุด เรียกว่าเข็ม แต่เดิมชาวพม่าวางพระบรมสารีริกธาตุ หรือพระธาตุที่ 9 จุดนี้ แต่ปัจจุบันทำเป็นตุ่มนูนเหมือนมีเข็มฝังไว้แทน จึงเป็นที่มาของชื่อ พระบัวเข็ม
พิพิธภัณฑ์โฮงหลวงแสงแก้ว จัดแสดงพระพุทธรูปศิลปะสมัยต่างๆ มากมาย
พระพุทธรูปที่สำคัญอีกองค์หนึ่งในพิพิธภัณฑ์โฮงหลวงแสงแก้ว คือ พระแก้วมรกตจำลอง
พระแก้วมรกตจำลอง
พระแก้วมรกตองค์จำลอง แกะจากหินแม่น้ำโขง
คัมภีร์ธรรม พระธรรมที่จารึกในใบลานผูกไว้เป็นมัด หรือ “ผูก”ผู้หญิงล้านนาเชื่อว่าผู้ใดได้ทำผ้าห่อหุ้มคัมภีร์ธรรมจะมีปัญญาเฉลียวฉลาด
ศาสตราวุธ
ศาสตราวุธ ที่ใช้ในการสู้รบปกป้องบ้างเมืองในสมัยก่อน
เครื่องลายคราม
เครื่องลายคราม ที่ใช้ในสมัยก่อน
หลังจากที่ชมพิพิธภัณฑ์โฮงหลวงแสงแก้วแล้ว มาสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัดพระแก้ว กันต่อครับ
พระอุโบสถ
เป็นพระวิหารทรงเชียงแสน มีลักษณะฐานเตี้ย เชิงหลังคาลาดต่ำ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๓ มีขนาดกว้าง ๙.๕๐ เมตร ยาว ๒๑.๘๕ เมตร ต่อมาได้ขอพระราชทาน วิสุงคามสีมา ประกอบพิธีผูกพัทธสีมา เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2495 พระประธานในอุโบสถ ชื่อพระเจ้าล้านทอง ชื่อนี้ได้มาเพราะเดิมเป็นของวัดล้านทอง ซึ่งต่อมาวัดถูกรื้อทิ้งไป จึงถูกอัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดดอยงำเมือง หรือดอยงามเมือง ก่อนจะมาเป็นพระประธานที่วัดพระแก้วเมื่อปี ๒๕๐๔ เป็นพระพุทธรูปสำริด ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๒ เมตร สูงจากฐานถึงพระรัสมี ๒.๘๐ เมตร รอบพระเศียร ๑.๖๐ เมตร นั่งขัดสมาธิราบ ยอดพระศกเป็นดอกบัวตูมอยู่ในเปลวเพลิง ชายสังฆาฏิสั้นเหนือรายพระถัน เม็ดพระศกใหญ่ พระหนุ(คาง)เป็นปมใหญ่และชัดมาก นับเป็นพระพุทธรูปในสกุลช่างศิปปาละที่ใหญ่ และสวยงามที่สุดในประเทศไทย
พระเจดีย์
เป็นพระเจดีย์ฐานรูปแปดเหลี่ยมแต่ละเหลี่ยมกว้าง ๕.๒๐ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง ๙.๕๐ เมตร ห่อหุ้มทองแผ่นทองแดง ลงรักปิดทองทั้งองค์ กรมศลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนองค์พระเจดีย์ เป็น โบราณสถานสำคัญของชาติ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๘
👀 แนะนำที่กิน ที่เที่ยวจังหวัดเชียงราย
ที่เทียวจังหวัดเชียงราย
พิพิธภัณฑ์โฮงหลวงแสงแก้ว
Reviewed by ที่เที่ยว
on
23:20:00
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: