โบสถ์จันทบุรี
เที่ยวจันทบุรีชมชมอาสนวิหารพระนางมารี เป็นอาสนวิหารที่มีความสวยงามทั้งภายในและภายนอกโบสถ์ ประวัติความเป็นมาของโบสถ์นี้ถือได้ว่าน่าสนใจมาก เนื่องจากอาสนวิหารนี้เป็นอาคารหลังที่ 5 และมีอายุมากกว่า 100 ปี !!!
ค่าพิกัดโดยประมาณอาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล : 12.609092, 102.118912 (เปิดโดย Google Map)
การเดินทางโดยรถยนต์ :จากกรุงเทพฯ มุ่งสู่ตะวันออก เข้าทางหลวงพิเศษสาย 7 ป้ายบอกทางไปชลบุรี มาถึงทางออกเส้น 344 อ.บ้านบึง-อ.แกลง แล้วมุ่งหน้าไปทางสายสุขุมวิทตรงไปที่แยกเขาไร่ยาแล้วเลี้ยวขวาเข้าเมืองจันทบุรี จากตัวเมืองจันทร์ เข้าถนนจันทนิมิต 2 ถึงแยกเลี้ยวขวา ตรงไปอาสนวิหารอยู่ทางด้านขวามือ สังเกตป้ายบอกทางไปอาสนวิหารพระนางมารี
อาสนวิหารพระนางมารี @ จันทบุรี
วัดแม่พระปฏีสนธินิรมล จันทบุรี สร้างเมื่อ พ.ศ. 2255 ที่ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจันทบุรี ต่อมา พ.ศ. 2377 ได้ย้ายมายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ และได้สร้างเป็นอาคารถาวรก่ออิฐตามศิลปะแบบโกธิค โดยเริ่มสร้าง 6 มกราคม พ.ศ. 2449 แล้วเสร็จสมบูรณ์จึงได้มีพิธีพุทธาภิเษก โดยได้รับเอาพระนางมารีอาปฏิสนธิ นิรมล เป็นองค์อุปถัมภ์ของวัดเมื่อ 10 มกราคม พ.ศ. 2452 และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นอาสนวิหารเมื่อ พ.ศ. 2487
มาเที่ยวชมอาสนวิหารพระนางมารี มีความสวยงามทั้งภายใน และภายนอก นอกจากนั้นยังมีประวัติที่น่าสนใจอีก
โบสถ์หลังที่ 1 พ.ศ. 2254-2295 (ค.ศ. 1711 - 1752) 41 ปี
หลังจากบาทหลวงเฮิ้ต ได้เป็นผู้ดูแลกลุ่มคลิสตชน จึงได้สร้างโบสถ์หลังแรกบนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจันทบุรี บนเนินสูงริมฝั่งทางทิศใต้ของเจดีย์วัดจันทร์ ปี พ.ศ.2273 สมัยบาทหลวงกาเบรียลเป็นเจ้าอาวาส ในช่วงนั้นเกิดความไม่สงบในหมู่บ้านคาทอลิก เนื่องจากทางการไม่ไว้วางใจจึงให้ส่งชาวคาทอลิคไปอยู่กรุงศรีอยุธยาเพื่อ ความสะดวกในการควบคุมดูแล วัดหลังที่ 1 จึงถูกทิ้งให้ว่างเปล่า 20 ปี
โบสถ์หลังที่ 2 พ.ศ. 2295-2377 (ค.ศ. 1752 - 1834) 82 ปี
ในปี พ.ศ. 2295 บาทหลวงเดอกัวนา ได้รวบรวมคริสตชนและได้สร้างวัดหลังที่ 2 ขึ้นมาโดยใช้ไม้กระดานกับไม้ใผ่ และมุงหลังคาด้วยใบตาล มีคริสตชนในช่วงนั้นประมาณ 200 คน และในปี พ.ศ. 2299-2343 บาทหลวงจาง (ชาวจีน) ได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าอาวาส เป็นช่วงปลายกรุงศรีอยุธยาต่อด้วยกรุงธนบุรีจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์
โบสถ์หลังที่ 3 พ.ศ. 2377-2398 (ค.ศ. 1834 - 1855) 21 ปี
ปี พ.ศ. 2377 บาทหลวงมัทธีอัส โด เจ้าอาวาส กับบาทหลวงเคลมังโซ่ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสได้ร่วมกันสร้างวัดหลังที่ 3 ขึ้น โดยย้ายข้ามมาอยู่ที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำจันทบุรี อันเป็นสถานที่ตั้งวัดในปัจจุบัน มีคริสตชนในช่วงนั้นประมาณ 1,000 คน
โบสถ์หลังที่ 4 พ.ศ. 2398-2448 (ค.ศ. 1855-1905) 48 ปี
ปี พ.ศ. 2381 บาทหลวงรังแฟง ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส เป็นช่วงเวลาที่ชุมชนคาทอลิกกำลังเติบโตขึ้นมากมีคริสตชนมากกว่า 1,000 คน ประกอบกับวัดเริ่มทรุดโทรม และคับแคบ พระสังฉชฆราชปัลเลอกัวช์ จึงได้สนับสนุนให้ก่อสร้างวัดหลังที 4 ในปี พ.ศ. 2398 วัดหลังนี้เป็นอาคารถารร ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 21 ปี
โบสถ์หลังที่ 5 พ.ศ. 2448-ปัจจุบัน (ค.ศ. 1905-ปัจจุบัน) มากกว่า 100 ปี
ปี พ.ศ. 2443 มีคริสตชนมากกว่า 2,400 คน วัดหลังที่ 4 เริ่มคับแคบ พระสังฆราชเวย์ ได้ให้บาทหลวงเปรีกาล มาเป็นเจ้าอาวาส ซึ่งได้สร้างวัดใหม่ มีพิธีเสกศิลาฤกษ์ในวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2449 วัดหลังที่ 5 นี้ มีความกว้าง 20 เมตร ยาว 60 เมตร เริ่มใช้ประกอบพิธีในปี พ.ศ. 2450
หลังจากทราบประวัติของโบสถ์อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล จันทบุรี กันแล้วก็มาชมความงามของโบสถ์กันเลย
บริเวณโดยรอบโบสถ์ ด้านหน้ามีอนุสาวรีย์พระนางมารีอาประดิษฐาน
ภายในโบสถ์มีความสวยงามมากและที่สำคัญชมความงามขององค์พระแม่ประดับพลอยกว่า 200,000 เม็ด
สิ่งหนึ่งในการเข้าชมสถานที่สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ คือ การให้เกียรติสถานที่ และ ก่อนมาควรแต่งกายให้เหมาะสมครับ
ภายในโบสถ์ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีที่สวยงาม
ด้านหน้าโบสถ์มีพระแท่นที่ใช้ประกอบพิธีมิซาและมีไม้กางเขนประดิษฐานตรงกลางพระแท่น
รูปปั้นนักบุญยอเซฟ ทรงอุ้มพระเยซู
องค์พระแม่ประดับพลอยกว่า 200,000 เม็ด มีความสูง 1.20 เมตร ลวดลายดอกไม้บนอาภรณ์ทำจากทองคำ 69 ดอก สร้างจากแรงศรัทธาของบรรดาคริสตชนและชาวจันทบุรีที่มีความสวยงามมาก
นอกจากนี้โดยรอบโบสถ์ประดับตบแต่งด้วยกระจกสีทั้งประตูและหน้าต่างมีความสวยงามมาก
รวมสถานที่ท่องเที่ยวของประเทศไทย
จังหวัดจันทบุรี
ค้นหาที่เที่ยว
โบสถ์อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล
- วิหารที่มีความสวยงามทั้งภายในและภายนอก
ที่อยู่โบสถ์อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล :
ที่อยู่ 110 จันทนิมิต อำเภอเมือง จ.จันทบุรี🏩 จองที่พักจังหวัดจันทบุรี
สิ่งน่าสนใจ :
- สถาปัตยกรรมภายในและภายนอกอาสนวิหาร
- แม่พระประดับพลอย
- อนุสาวรีย์พระนางมารีอา
- ความสวยงามของกระจกสีหน้าต่างรอบโบสถ์
การเดินทางไปอาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล :
ค่าพิกัดโดยประมาณอาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล : 12.609092, 102.118912 (เปิดโดย Google Map)
การเดินทางโดยรถยนต์ :จากกรุงเทพฯ มุ่งสู่ตะวันออก เข้าทางหลวงพิเศษสาย 7 ป้ายบอกทางไปชลบุรี มาถึงทางออกเส้น 344 อ.บ้านบึง-อ.แกลง แล้วมุ่งหน้าไปทางสายสุขุมวิทตรงไปที่แยกเขาไร่ยาแล้วเลี้ยวขวาเข้าเมืองจันทบุรี จากตัวเมืองจันทร์ เข้าถนนจันทนิมิต 2 ถึงแยกเลี้ยวขวา ตรงไปอาสนวิหารอยู่ทางด้านขวามือ สังเกตป้ายบอกทางไปอาสนวิหารพระนางมารี
แผนที่อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล :
โบสถ์อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล
- วิหารที่มีความสวยงามทั้งภายในและภายนอก
อาสนวิหารพระนางมารี @ จันทบุรี
วัดแม่พระปฏีสนธินิรมล จันทบุรี สร้างเมื่อ พ.ศ. 2255 ที่ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจันทบุรี ต่อมา พ.ศ. 2377 ได้ย้ายมายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ และได้สร้างเป็นอาคารถาวรก่ออิฐตามศิลปะแบบโกธิค โดยเริ่มสร้าง 6 มกราคม พ.ศ. 2449 แล้วเสร็จสมบูรณ์จึงได้มีพิธีพุทธาภิเษก โดยได้รับเอาพระนางมารีอาปฏิสนธิ นิรมล เป็นองค์อุปถัมภ์ของวัดเมื่อ 10 มกราคม พ.ศ. 2452 และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นอาสนวิหารเมื่อ พ.ศ. 2487
มาเที่ยวชมอาสนวิหารพระนางมารี มีความสวยงามทั้งภายใน และภายนอก นอกจากนั้นยังมีประวัติที่น่าสนใจอีก
ประวัติอาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล จันทบุรี
ชุมชนคาทอลิกจันทบุรี เกิดจากกลุ่มคาทอลิกชาวญวน 130 คน ซึ่งอพยพหนีภัยจากการเบียดเบียนศาสนาในประเทศเวียดนามมาตั้งภูมิลำเนาที่ จันทบุรี ก่อนปี พ.ศ. 2254 ปลายรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ สมัยกรุงศรีอยุธยา พระสังฆราชบีออง เดอ ซีเซ ได้มอบหหมายให้บาทหลวงเฮิ้ต เป็นผู้ดูแลกลุ่มคลิสตชนนี้ และหลังจากนั้นได้มีการสร้างโบสถ์มาเป็นลำดับจนถึงปัจจุบันโบสถ์หลังที่ 1 พ.ศ. 2254-2295 (ค.ศ. 1711 - 1752) 41 ปี
หลังจากบาทหลวงเฮิ้ต ได้เป็นผู้ดูแลกลุ่มคลิสตชน จึงได้สร้างโบสถ์หลังแรกบนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจันทบุรี บนเนินสูงริมฝั่งทางทิศใต้ของเจดีย์วัดจันทร์ ปี พ.ศ.2273 สมัยบาทหลวงกาเบรียลเป็นเจ้าอาวาส ในช่วงนั้นเกิดความไม่สงบในหมู่บ้านคาทอลิก เนื่องจากทางการไม่ไว้วางใจจึงให้ส่งชาวคาทอลิคไปอยู่กรุงศรีอยุธยาเพื่อ ความสะดวกในการควบคุมดูแล วัดหลังที่ 1 จึงถูกทิ้งให้ว่างเปล่า 20 ปี
โบสถ์หลังที่ 2 พ.ศ. 2295-2377 (ค.ศ. 1752 - 1834) 82 ปี
ในปี พ.ศ. 2295 บาทหลวงเดอกัวนา ได้รวบรวมคริสตชนและได้สร้างวัดหลังที่ 2 ขึ้นมาโดยใช้ไม้กระดานกับไม้ใผ่ และมุงหลังคาด้วยใบตาล มีคริสตชนในช่วงนั้นประมาณ 200 คน และในปี พ.ศ. 2299-2343 บาทหลวงจาง (ชาวจีน) ได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าอาวาส เป็นช่วงปลายกรุงศรีอยุธยาต่อด้วยกรุงธนบุรีจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์
โบสถ์หลังที่ 3 พ.ศ. 2377-2398 (ค.ศ. 1834 - 1855) 21 ปี
ปี พ.ศ. 2377 บาทหลวงมัทธีอัส โด เจ้าอาวาส กับบาทหลวงเคลมังโซ่ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสได้ร่วมกันสร้างวัดหลังที่ 3 ขึ้น โดยย้ายข้ามมาอยู่ที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำจันทบุรี อันเป็นสถานที่ตั้งวัดในปัจจุบัน มีคริสตชนในช่วงนั้นประมาณ 1,000 คน
โบสถ์หลังที่ 4 พ.ศ. 2398-2448 (ค.ศ. 1855-1905) 48 ปี
ปี พ.ศ. 2381 บาทหลวงรังแฟง ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส เป็นช่วงเวลาที่ชุมชนคาทอลิกกำลังเติบโตขึ้นมากมีคริสตชนมากกว่า 1,000 คน ประกอบกับวัดเริ่มทรุดโทรม และคับแคบ พระสังฉชฆราชปัลเลอกัวช์ จึงได้สนับสนุนให้ก่อสร้างวัดหลังที 4 ในปี พ.ศ. 2398 วัดหลังนี้เป็นอาคารถารร ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 21 ปี
โบสถ์หลังที่ 5 พ.ศ. 2448-ปัจจุบัน (ค.ศ. 1905-ปัจจุบัน) มากกว่า 100 ปี
ปี พ.ศ. 2443 มีคริสตชนมากกว่า 2,400 คน วัดหลังที่ 4 เริ่มคับแคบ พระสังฆราชเวย์ ได้ให้บาทหลวงเปรีกาล มาเป็นเจ้าอาวาส ซึ่งได้สร้างวัดใหม่ มีพิธีเสกศิลาฤกษ์ในวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2449 วัดหลังที่ 5 นี้ มีความกว้าง 20 เมตร ยาว 60 เมตร เริ่มใช้ประกอบพิธีในปี พ.ศ. 2450
หลังจากทราบประวัติของโบสถ์อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล จันทบุรี กันแล้วก็มาชมความงามของโบสถ์กันเลย
บริเวณโดยรอบโบสถ์ ด้านหน้ามีอนุสาวรีย์พระนางมารีอาประดิษฐาน
ภายในโบสถ์มีความสวยงามมากและที่สำคัญชมความงามขององค์พระแม่ประดับพลอยกว่า 200,000 เม็ด
สิ่งหนึ่งในการเข้าชมสถานที่สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ คือ การให้เกียรติสถานที่ และ ก่อนมาควรแต่งกายให้เหมาะสมครับ
ภายในโบสถ์ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีที่สวยงาม
ด้านหน้าโบสถ์มีพระแท่นที่ใช้ประกอบพิธีมิซาและมีไม้กางเขนประดิษฐานตรงกลางพระแท่น
รูปปั้นนักบุญยอเซฟ ทรงอุ้มพระเยซู
องค์พระแม่ประดับพลอยกว่า 200,000 เม็ด มีความสูง 1.20 เมตร ลวดลายดอกไม้บนอาภรณ์ทำจากทองคำ 69 ดอก สร้างจากแรงศรัทธาของบรรดาคริสตชนและชาวจันทบุรีที่มีความสวยงามมาก
นอกจากนี้โดยรอบโบสถ์ประดับตบแต่งด้วยกระจกสีทั้งประตูและหน้าต่างมีความสวยงามมาก
โบสถ์จันทบุรี
Reviewed by ที่เที่ยว
on
22:19:00
Rating:
สถาปัตยกรรมภายในและภายนอกของมหาวิหารทำให้เรารู้สึกศักดิ์สิทธิ์และเป็นพระเจ้า
ตอบลบ