Top Ad unit 728 × 90

เสาชิงช้า

เสาชิงช้า เป็นอีกสถานที่หนึ่ง เมื่อมากรุงเทพฯ แล้วจะต้องมาเยี่ยมชม จัดเป็นแลนด์มาร์กและอนุสรณ์สถานที่มีประวัติศาสตร์น่าสนใจ



 รวมสถานที่ท่องเที่ยวของประเทศไทย


 กรุงเทพมหานคร

  ที่เที่ยว ท่องเที่ยว
  ที่กิน ร้านอาหาร
  ที่พัก ที่นอน

 ค้นหาที่เที่ยว




ที่อยู่เสาชิงช้า :

ถนนบำรุงเมือง เขตพระนคร ตั้งอยู่หน้าวัดสุทัศน์เทพวราราม

สิ่งน่าสนใจ :

ชมความงามเสาชิงช้าสถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่าที่เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของกรุงเทพมหานคร
ชมบรรยากาศโดยรอบของเสาชิงช้า

แผนที่และการเดินทางไปเสาชิงช้า:


เสาชิงช้าค่าพิกัดโดยประมาณ : 13.751983, 100.501190

เดินเที่ยว :
จากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เดินเข้าถนนดินสอเดินตรงมาจนสุดจะเห็นเสาชิงช้าเป็นจุดเด่นค่ะระยะทางทั้งหมดประมาณ 500 เมตรเดินชิลล์ ชิลล์ ระหว่างทางมีร้านขายขนมอร่อยหลายร้านค่ะ แนะนำว่าให้เดินมาถึงเส้าชิงช้าถ่ายรูปและไหว้พระที่วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร ก่อนเดินกลับแวะทานกาแฟ และไข่กะทะที่ร้านโกปี๊ เฮี้ยะไถ่กี่ เสาชิงช้า หรือใครมาช่วงบ่ายสอง บ่ายสาม ก็แวะร้านมนต์นมสดที่เปิดช่วงบ่ายสองพอดีค่ะ รวมระยะทางไปกลับ 1 กิโลเมตรพอดี

ปั่นจักรยานเที่ยว :
เหมือนกันกับการเดิน แต่เปลี่ยนมาเป็นการปั่นจักรยานแทนโดยเริ่มจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เข้าถนนดินสอปั่นตรงมาจนสุดทางจะเห็นเสาชิงช้าเป็นจุดเด่นค่ะระยะทางทั้งหมดประมาณ 500 เมตร ปั่นยังไม่เหนื่อยเลยก็ถึงเส้าชิงช้าถ่ายรูปแล้ว หลังจากนั้นเข้าไปนมัสการพระประธานที่วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร ก่อนกลับแวะทานกาแฟ และไข่กะทะที่ร้านโกปี๊ เฮี้ยะไถ่กี่ เสาชิงช้า หรือใครมาช่วงบ่ายสอง บ่ายสาม ก็แวะร้านมนต์นมสดที่เปิดช่วงบ่ายสองพอดีค่ะ รวมระยะทางปั่นไปกลับ 1 กิโลเมตรพอดี

รถยนต์ :


1. จากผ่านฟ้ามาทางมหาไชยแล้วเลี้ยวขวาเข้าซอยสำราญราษฏร์จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าซอยศิริพงษ์จะเจอเสาชิงช้า

2. จากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เลี้ยวเข้าถนนดินสอ (รถส่วนตัวต้องมีคนในรถต้องไม่ต่ำกว่า 3 คน) วิ่งมาจนสุดทางจะเจอเสาชิงช้า

3. จากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเลี้ยวซ้ายเข้าแยกคอกวัวตรงมาจนเจอสี่แยกไฟแดงเลี้ยวขวาเข้าถนนบำรุงเมืองจะเจอเสาชิงช้า

 รถประจำทาง :

รถเมล์ธรรมดา สาย 12, 42
รถเมล์ปรับอากาศ สาย 12  - ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ สายรถเมล์ - ขสมก (BMTA)




ข้อมูลท่องเที่ยวเสาชิงช้า

เสาชิงช้า ตามคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูใช้ประกอบพระราชพิธีตรียัมปวาย หรือพิธีโล้ชิงช้า เป็นการละเล่นเพื่อต้อนรับและสรรเสริญพระคุณต่อองค์พระอิศวรที่เสด็จมาเยี่ยมโลกมนุษย์ในเดือนยี่(เดือนมกราคม) ซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ทรงโปรดให้มีการสร้างโบสถ์พราหมณ์ และเสาชิงช้า บริเวณริมถนนบำรุงเมือง ทางจะเลี้ยวไปถนนดินสอ ในปีพ.ศ. ๒๓๒๗ และต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้ย้ายมาตั้งที่ถนนบำรุงเมืองในตำแหน่งนี้จนถึงปัจจุบัน และมีการเปลี่ยนเสาใหม่อีก ๒ ครั้ง คือ ในสมัยรัชกาลที่ ๖ โดยบริษัท หลุยส์ ที.เลียวโนแวนส์ ซึ่งเป็นบริษัทค้าไม้ ได้อุทิศซุงไม้สักเพื่อสร้างเสาชิงช้าใหม่  เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๓ และ มีการเปลี่ยนเสาใหม่อีกครั้งในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ โดยยังคงลักษณะเดิมไว้  และเปลี่ยนเสาใหม่ครั้งล่าสุดในปี ๒๕๔๙ โดยใช้ไม้สักทอง จากจังหวัดแพร่ ปัจจุบันพิธีโล้ชิงช้าได้ถูกยกเลิกในสมัยรัชกาลที่ ๗ ปี พ.ศ. ๒๔๗๘

ขอขอบคุณข้อมูลการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย - เสาชิงช้า
บางครั้งที่ที่เราผ่านบ่อยๆ จนเคยชินทำให้เราหลงลืมสิ่งสวยงามที่อยู่ใกล้ตัวเราไป ช่วงเช้าลองออกมาเดินเที่ยวเสาชิงช้าชมความงามงานสถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่าที่เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของกรุงเทพมหานคร และบริเวณนี้ถือเป็นจุดกึ่งกลางของพระนครในอดีต ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์

เสาชิงช้า มีลักษณะเป็นเสาคู่ขนาดใหญ่สูงประมาณ 21 เมตร ทาสีแดงชาด กระจังและหูช้างไม้เป็นลวดลายไทย เป็นจุดเด่นสำหรับนักท่องเที่ยวที่มาบริเวณนี้


สำหรับสถานที่สำคัญบริเวณเสาชิงช้า มีให้เราได้เดินเที่ยว ได้แก่ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ซึ่งสร้างพร้อมเสาชิงช้า, วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร,   ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร, ลานคนเมือง และตึกแถวเก่าแก่บริเวณริมถนนดินสอและถนนบำรุงเมือง นอกจากนี้ยังมีร้านอาหารและขนมอร่อยในย่านนี้หลายร้านด้วยกัน




👀  แนะนำที่กิน ที่เที่ยวกรุงเทพฯ



 กรุงเทพมหานคร

  ที่เที่ยว ท่องเที่ยว
  ที่กิน ร้านอาหาร
  ที่พัก ที่นอน





เสาชิงช้า Reviewed by ที่เที่ยว on 22:52:00 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

All Rights Reserved by ที่เที่ยวบล็อก © 2014
Powered By Blogger

ฟอร์มรายชื่อติดต่อ

ชื่อ

อีเมล *

ข้อความ *

รูปภาพธีมโดย cmisje. ขับเคลื่อนโดย Blogger.